ทีนี้ วันหนึ่งนายเฮ็งกับนายเจ็งก็ไปขายขวด แต่ไปคนละทาง นายเจ็งไปเจอการพนันเข้า ก็เล่นการพนัน เผอิญมันเล่นการพนันรวยมันอยากกินเป็ดกินไก่มานานแล้ว เงินที่ได้มาฟรี ๆ ก็เลยไปซื้อเป็ดไก่กินเสีย แล้วเอามาฝากเพื่อนด้วยอย่างละตัว มาถึงร้องเพลงหงิงๆ แบบเจ๊ก นายเฮ็งกลับบ้านมาเจอนายเจ็งร้องเพลงหงิงๆ อยู่ มองไปเห็นเป็ดไก่เข้าเลยถามว่า นั่นเป็ดไก่ใครเว้ย? ของกูเอง เอ้า! ทำไมมึงมีเงินถึง ๘๐ ชั่งแล้วหรือ? เปล่าทำไมล่ะ ? กูไปรวยการพนันมา กูล่อเสียอิ่ม อยากกินมานานแล้ว กูจึงนำมาฝากมึงด้วย ๒ ตัว เท่านั้นแหละ นายเฮ็งเป็นเดือดเป็นแค้น บอกว่า นี่เจ็งแกเป็นมนุษย์ไม่มีสัจจะ ไม่มีความจริงใจ เราสัญญากันไว้แล้วมิใช่ หรือว่า ถ้าเรายังไม่มีเงินถึง ๘๐ ชั่ง จะไม่กินเป็ดกินไก่ แล้วทำไมมาละเมิดสัญญา แกไม่มีสัจจะนี่ ตั้งตัวไม่ได้ แกกับข้าเลิกกัน ข้าไม่แตะต้องเป็ดไก่ของแกหรอก ไปหาหลวงพ่อเอาเงินมาแบ่งกันคนละส่วน แยกทางกัน
ผลสุดท้ายแยกทางกัน พอแยกทางกันไปแล้ว นายเฮ็งเป็นคนขะมักเขม้น ทำมาหากินจนกระทั่งร่ำรวย ต่อมาเป็นมหาเศรษฐีในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ ๖ คนที่มีเงินมักจะได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยา นายเฮ็งก็ได้เป็นพระยาไพบูลย์สมบัติ ตัวนายเจ็งค้าขายไปเล่นการพนันไป สุดท้ายหมดตัว ขวดขายไม่ไหวจนกลายเป็นขอทานกะเซอะกะเซิงมาจนถึงบ้านพระยาเฮ็ง ซึ่งตั้งโรงทานไว้ที่หน้าบ้าน เจ้าคุณเฮ็งเห็นนายเจ็งแล้ว จำได้ เลยบอกลูกว่า ตี๋..ไอ้คนนี้มันกินข้าวแล้วรับพาไปหาพ่อ ลูกก็คอยดู พอนายเจ็งกินข้าวต้มเสร็จแล้วก็พาเข้าไปในบ้าน
พอไปถึงเจ้าคุณเฮ็งถามว่า เออ! เป็นยังไงขอทานนี่ ? แย่..นายเจ็งจำเจ้าคุณไม่ได้ แต่เจ้าคุณจำได้ ลื้อไม่ต้องขอทานเอาไหมล่ะ ? ทำยังไง ? ไม่ขอทานอั๊วก็อดตายสิ อั๊วจะปลูกกระต๊อบให้หนึ่งหลัง แล้วอั๊วจะให้ข้าวลื้อไปหุงกินกับแกล้มก็จะให้ แต่มีข้อแม้ว่าหัวปลาเค็มกับใบมะขามนี่ ลื้อกินได้ไหม? เจ็งบอกว่าอั๊วไม่ได้กินขนาดนี้ยังอยู่ได้ เอ้อดีแล้ว ข้าวสารหมด หัวปลาหมด ลื้อมาบอกอั๊ว เก็บใบมะขามต้นเล็กก่อนนะ แล้วไปเก็บต้นใหญ่ ต่อมาก็ไปบอกว่า ข้าวสารหมด หัวปลาหมด ให้ไป แต่ใบมะขามไม่รู้จักหมดสักที เจ้าคุณเรียกว่า เฮ้ย ! เจ็ง ใบมะขามไม่เห็นลื้อบอกว่าหมดสักทีล่ะ ? หัวปลาบอก ข้าวสารบอก ใบมะขามมันไม่หมดครับทำไมไม่หมด เพราะมันต้นใหญ่ พอรูดกิ่งนี้หมด ทางโน้นก็ออกใหม่อีก เจ้าคุณหัวเราะ แล้ว นี่เจ็ง ถามจริง ๆ เถอะ ลื้อมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งใช่ไหม ? มี ชื่ออะไร? ชื่อเฮ็ง แล้วเดี๋ยวนี้เขาไปไหน ไม่รู้ว่ามันไปไหน เจ้าคุณเลยหัวเราะ บอกว่า นี่เจ็ง ลื้อจำไม่ได้ อั๊วนี่แหละคือเฮ็งล่ะ เท่านั้นแหละ นายเจ็งแหงนดูหน้า เลยนึกเค้าออกน้ำตาไหลพรากก้มลงกราบ บอกลื้อไม่ต้องร้องไห้ ลื้อไม่ต้องเสียใจจูงมือนายเจ็งขึ้นไปยังห้องข้างบน จะให้นายเจ็งไปกราบพระ แล้วก็พาไปกราบตู้ปิดทองไว้ แล้วก็มีไม้คานปิดทอง ถามว่า นี่ลื้อจำได้ไหม ? เจ็งไม้คานนี่ จำไม่ได้ นี่แหละไม้คานที่อั๊วหาบขวดขายกับลื้อ อั๊วนึกถึงคุณของไม้คาน อั๊วเลยลงรักปิดทองไว้ กราบไหว้อยู่เรื่อย แล้วของลื้อไปไหน ไม่รู้ อั๊วทิ้งมันไปไหนก็ไม่รู้ เอ้อ ! มันเป็นอย่างนี้ วาจาก็หยาบ ต่อแต่นี้ไปอั๊วจะช่วยสงเคราะห์ลื้อ ไอ้ที่อั๊วเอาลื้อมาไว้นี่ อั๊วจำได้ตั้งแต่วันแรกแล้ว ไอ้ที่อั๊วให้ลื้อไปอยู่กระต๊อบอย่างนั้น อั๊วต้องการให้ลื้อได้สำนึกว่า ข้าวกับหัวปลาต้มกับใบมะขามต้นเล็กก่อน ลื้อรู้ไหม ต้นมะขามยังเล็กอยู่ ลื้อรูดกินไม่ช้าก็หมดนั่นเหมือนกับชีวิตลื้อ ลื้อมีเงินนิดเดียว ลื้อก็รีบกินมันเสียแล้ว รีบซื้อเป็ดซื้อไก่กิน ลื้อมันเป็นมะขามเล็ก มันจึงไม่เหลือ ส่วนอั๊วนี่มันกินไม่หมด มันเหมือนมะขามต้นใหญ่ รูดทางนี้ออกทางโน้น อั๊วมีเงินมหาศาล ถึงตายไปแล้วเกิดอีกกี่ร้อยกี่พันชาติก็กินไม่หมด อั๊วมีเงินมากมายเฉพาะดอกผลปีหนึ่งก็ไม่รู้เท่าไหร่
ชีวิตของนายเจ็งมันผิดพลาด เพราะไม่มีความอดทน, ไม่มีความขยัน, เสียสัตว์ ,ไม่มีความรู้ , ติดอบายมุข ส่วนเจ้าคุณเฮ็งมีความขยัน อดทน มีสัจจะ ทั้ง ๆ ที่อยากกินเป็ดกินไก่ แต่ยังไม่ยอมกิน อดไว้ และธรรมะสำคัญอีกข้องหนึ่งของเจ้าคุณเฮ็งคือกตัญญูรู้คุณ แม้กระทั่งไม่คาน เอามาลงรักปิดทอง แล้วก็มีสติปัญญาคิดว่าคนจะร่ำรวยนี่ทำยังไง ท่านมีธรรมะครบบริบูรณ์ทั้ง ๕ ข้อ ส่วนนายเจ็งเสียหมดทั้ง ๕ ข้อ คือ ขี้เกียจ ไม่อดทน ไม่มีสติปัญญาไม่มีความกตัญญู และปราศจากสัจจะ
นิทานเรื่องนี้ เป็นคติเตือนใจให้เราเห็นว่า คนต่างด้าวชาวต่างแดนเข้ามาอยู่ในเมืองไทยที่เขาตั้งเนื้อ ตั้งตัวได้ ร่ำรวยเป็นเศรษฐี เขาก็ไม่ได้ลักไปขโมยใคร เขาใช้ธรรมะ ๕ ข้อนี้สร้างตัว ถ้าคนไทยเราเอาธรรมะนี่มาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา ชีวิตของไทยเราก็จะรุ่งเรืองอย่างที่คนต่างด้าวชาวต่างแดนที่เข้ามาอยู่ใน เมืองไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น